เข็มขัดพยุงหลัง ตัวช่วยที่ไม่ให้ปวดหลัง

 

ข็มขัดพยุงหลัง ตัวช่วยที่ดีที่สุด

อาการปวดหลังจากการทำงาน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในกลุ่มพนักงานที่ทำงานในสถานประกอบกิจการ ซึ่งมักมีอาการปวดที่บริเวณเอวและหลัง เมื่อพักผ่อนก็จะมีอาการดีขึ้น แต่เมื่อเริ่มเคลื่อนไหวทำงาน ก็จะเริ่มมีอาการปวดหลังขึ้นอีก อาการปวดหลังเรื้อรังนี้จะส่งผลไปถึงการหยุดงาน การสูญเสียรายได้ การเสียค่ารักษาพยาบาล

     สาเหตุ อาการปวดหลังของพนักกลุ่มนี้ มักเกิดจากต้องคร่ำเคร่งกับการทำงาน ก้มตัวยกของหนัก ทำงานอยู่ในท่าเดียวกันเป็นเวลานานๆ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยมีรายงานประเทศอุตสาหกรรม มีอุบัติการณ์ของอาการปวดหลังสูง เช่น สหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยปวดหลัง ร้อยละ ๕ ของประชากรวัยทำงานทั้งหมด สำหรับประเทศไทยในแต่ละปีมีพนักงานในสถานประกอบกิจการประสบปัญหาบาดเจ็บจากการ ทำงานที่มีสาเหตุจากท่าทางการทำงาน และการยกเคลื่อนย้ายของหนักด้วยการใช้แรงคน จนต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ทำกายภาพบำบัดมีจำนวนสูงขึ้นทุกปี

ข้อเสนอแนะการใช้เข็มขัดพยุงหลัง
    เข็มขัดพยุงหลัง (Back support) นับ วันพนักงานในสถานประกอบกิจการยิ่งมีความนิยมนำมาสวมใส่เสมือนเป็นอุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลเช่นเดียวกับหมวกหรือรองเท้านิรภัยที่ใช้ในขณะ ทำงาน มากขึ้นทุกที

การป้องกันอาการปวดหลัง
อาการ ปวดหลังนี้ แพทย์และนักกายภาพบำบัดเป็นเพียงผู้ช่วยให้อาการปวดทุเลา ซึ่งอาจกลับเป็นได้อีก แต่การปวดหลังนี้สามารถที่จะป้องกันได้ โดยการปฏิบัติดังนี้

(1) การยกของหนัก ท่าทางในการยกต้องทำให้ถูกวิธีโดยยืนให้ชิดสิ่งของที่จะยก ย่อเข่าให้หลังเป็นแนวตรง แขนแนบชิดลำตัว และอย่ายกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเกินไป

(2) หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าเดียวนานๆ โดยเฉพาะท่านั่ง

(3) การยืนทำงานนานๆ ควรมีที่พักเท้า

(4) อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินไป ซึ่งมีเกณฑ์มาตรฐานดังนี้

เพศชาย : ส่วนสูง (เซนติเมตร) – 105 = น้ำหนัก ± 10 กิโลกรัม

เพศหญิง: ส่วนสูง (เซนติเมตร) – 110 = น้ำหนัก ± 10 กิโลกรัม

เช่น เพศชาย สูง 170 เซนติเมตร น้ำหนักควรอยู่ระหว่าง 65 ± 10 กิโลกรัม (55 – 75 กิโลกรัม) เป็นต้น

(5) ออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องและหลังแข็งแรง เช่น การใช้วิธีนอนคว่ำ นำหมอนหนุนใต้ท้อง ค่อยๆยกศีรษะขึ้น ค้างไว้ 3 – 5 วินาที แล้วค่อยๆลดศีรษะลง โดยทำซ้ำ 5 – 10 ครั้ง เป็นต้น

(6) เมื่อมีอาการปวดหลัง อาจใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางบริเวณที่ปวดนาน 20 – 30 นาที แต่ถ้ามีอาการปวดร้าวลงขา อาจเกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที



    เข็มขัดพยุงหลังมีประโยชน์ในพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บและกำลังฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อ กลับเข้าทำงานเดิม การใส่จะมีประโยชน์มากในช่วงแรก เพื่อลดอาการเจ็บ แต่ควรจะใช้ในช่วงเวลาสั้นๆ

รายละเอียดเข็มขัดพยุงหลัง กดที่นี่

Cr:สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
ตัวอย่างขนาดของเข็มขัดแต่ละไซส์

แชทผ่านไลน์